กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) คือกองทุนที่นายจ้างสมทบเงินให้ลูกจ้างเพื่อเป็นเงินเก็บในยามเกษียณ
กองทุนที่ดีที่สุดในการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ ก็คือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund นั่นเอง เพราะเหมือนเราลงทุนไปเท่าไหร นายจ้างก็จะสมทบให้เราอีกเท่านึง เหมือนได้ผลตอบแทน 100% ทันทีที่ฝากแถมอนาคตอาจจะเติบโตได้เรื่อยๆหากแบ่งสัดส่วนการลงทุนได้เหมาะสม เราก็จะมีเงินเก็บในตอนเกษียณได้อย่างสบายใจ แถมยังลดหย่อนภาษีได้อีก
เงินที่เรา(ลูกจ้าง)จ่ายเข้ากองทุนเรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งตามกฏหมายสามารถใส่ได้ 2 – 15% ต่อเดือนเลยทีเดียว ส่วนนายจ้าง(บริษัท)จะจ่ายเพิ่มอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” โดยกฏหมายกำหนดให้สมทบไม่น้อยกว่าอัตราที่ลูกจ้างส่ง(แต่ไม่เกิน 15%) เช่นถ้าบริษัทมีให้เลือกออม 5% เราจ่าย 5% บริษัทจ่ายอีก 5% ถ้าทำตามครบเงื่อนไขเราก็จะได้เงินทั้งหมดพร้อมดอกผลของมัน แบบนี้ได้เห็นๆ ฉะนั้นถ้าบริษัทมีให้เลือก เราก็ควรเลือกสะสมในอัตราสูงที่สุดที่นายจ้างสมทบเพื่อผลประโยชน์ของตัวเรานั่นเอง
โดยที่เงินที่สะสมอยู่ในกองทุนนั้นก็จะนำไปลงทุนต่างๆตามนโยบายที่ถูกเลือกไว้ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆเราก็จะสะสมเข้าไปเรื่อยๆ และเงินก็โตขึ้นเรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีตอนเกษียณก็มีเงินเก็บเยอะแยะเต็มไปหมด โดยแต่ละเดือนก็จะมีสรุปที่ชื่อว่า “รายงานผลการจัดการกองทุน” ที่จะอธิบายว่าผลการดำเนินงานของกองทุนเป็นอย่างไร โตมากโตน้อยหรือขาดทุน หรือดูผ่าน “ใบแจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ที่จะได้ปีละ 2 ครั้ง
จะได้รับเงินเมื่อไหร?
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีไว้เพื่อเกษียณ นั่นก็หมายความว่าเราจะได้รับเงินเมื่อเราเกษียณนั่นเอง
ถ้าออกจากงานก่อนจะได้เงินมั้ย?
จะได้เงินที่เราสะสมไปแน่นอน แต่กำไรและเงินสมทบนั้นต้องดูว่าเรามีอายุงานกี่ปี และอาจจะต้องนำเงินที่ได้(ที่ไม่ใช่ส่วนที่เราสะสม)ไปเป็นเงินได้คำนวณรวมภาษีในปีที่ออกจากงานด้วย
จะได้เงินสมทบเท่าไหร?
แล้วแต่นโยบายของบริษัทนั้นๆ เช่น ถ้าอายุงานของเราน้อยกว่า 1 ปี จะได้ 10% ของที่นายจ้างสมทบ ถ้ามากกว่า 1 ปี จะได้ 50% ของที่นายจ้างสมทบ แต่ถ้าอายุงานเกิน 5 ปีขึ้นไปก็จะมีสิทธิได้รับเงินทั้งหมดเต็มจำนวน 100% ฉะนั้นคนที่เปลี่ยนงานบ่อยอยู่แค่แปปเดียว นโยบายของบางบริษัทอาจทำให้เราไม่ได้ส่วนของเงินสมทบเลย
ต้องนำเงินไปรวมคำนวณภาษีเท่าไหร?
กรณีลาออกก่อนเกษียณ ถ้าอายุงานน้อยกว่า 5 ปี จะต้องนำไปรวมเพื่อเสียภาษีทั้งจำนวน(ยกเว้นส่วนที่เราสะสม) กำไรจากเงินสะสม+กำไรจากเงินสมทบ+เงินสมทบไปรวมคำนวณเป็นรายได้ของปีที่ออกจากงาน แต่ถ้าอายุงานมากกว่า 5 ปี สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ 7,000 คูณด้วยปีที่ทำงาน เหลือเท่าไหรหักได้อีกครึ่งนึง
เกษียณจากงาน ถ้าอายุมากกว่า 55 ปี และอายุงานมากกว่า 5 ปี ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน แต่ถ้าอายุไม่ถึง 55 ปี หรือ เป็นสมาชิกกองไม่ถึง 5 ปี จะต้องนำไปคำนวณรวมเพื่อเสียภาษีเหมือนลาออกก่อนเกษียณ
ถ้าเสียเสียชีวิต หรือทุพพลภาพก่อนเกษียณ?
ได้คืนเต็มจำนวณทั้งเงินสะสมและเงินสมทบ และดอกผลทั้งหมดด้วย
จะย้ายงานแต่ไม่อยากให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเสียภาษี ทำยังไง?
กรณีที่ 1 แจ้งโอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปบริษัทใหม่
แจ้งโอนย้ายภายใน 1 ปี โดยโอนย้ายเงินไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่(บริษัทใหม่) ก็จะไม่ถูกนำมาคำนวณเป็นภาษีเงินได้แบบข้างบน
กรณีที่ 2 สามารถนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD)ย้ายไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)ได้ RMF for PVD
โดยจะมีการระบุอยู่ในหนังสือชี้ชวนว่าเป็นกองทุนที่รับโอนจาก Provident Fund หรือ RMF for PVD และต้องมีการแยกบัญชีออกจาก RMF ทั่วไป
เอกสารสำคัญ(กรณีเกษียณ)
หนังสือรับรองการเกษียณอายุจากบริษัทที่ทำงานอยู่ (หากบริษัทกำหนดอายุเกษียณที่ 60 ก็ต้องอายุเกิน 60 ปี ถึงจะเกษียณจากบริษัทนั้นได้)
หากสงสัยวิธีการยื่น [อ่านเพิ่มใน : ยื่นภาษียังไง ถ้าออกจากงาน แล้วขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ]
ถ้าอยู่กันยาวๆยิ่งสะสมเยอะยิ่งได้เยอะ แต่ถ้าย้ายงานบ่อยก็อ่านข้อกำหนดให้ดีหละจะได้ไม่เสียผลประโยชน์กัน
หรือใครอยากรู้เรื่อง LTF เพิ่มเติม
หรือ เรื่อง RMF เพิ่มเติม
Series ประกัน
[อ่านเพิ่มใน : ซื้อประกัน ลดหย่อนภาษียังไงให้คุ้ม!?]
[อ่านเพิ่มใน : ประกันแบบสะสมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี เลือกไงให้เหมาะกับเรา]
No Comment