LTF
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่มีทั้งประโยชน์ในการลงทุนและประโยชน์ทางภาษี ใครที่ลงทุนแล้วก็อาจจะสงสัยว่าถ้าหากเราทำผิดกฏจะเป็นอย่างไร แล้วทำอย่างไรไม่ให้ผิดกฏ วันนี้ Khunmoney จะมาอธิบายให้ฟัง
ถ้าใครที่อยากรู้จัก LTF ลึก สามารถอ่านต่อได้ใน Link นี้ [อ่านเพิ่มใน : LTF คืออะไร? ถามตอบทุกข้อสงสัย]
กฏข้อห้ามของกองทุน LTF
- ห้ามลงทุนเกิน 15% ของรายได้
- ห้ามลงทุนเกิน 500,000 บาท
- ต้องถือครองอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน
“7 ปีปฏิทิน นับยังไง?”
การนับ 7 ปีปฏิทินนับง่ายๆโดย หากเราซื้อ LTF ปีนี้คือปี 2560 ให้นับไป 7 ปี รวมปีนี้คือ 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 เท่ากับว่าปี 2566 เราจะสามารถขาย LTF ของปี 2560 ได้ ซึ่งหากเราซื้อที่ปลายปี 2560 จะสามารถขายที่ต้นปี 2566 หากนับเป็นวันจะเท่ากับ 5 ปีกับอีกไม่กี่วัน (แต่การซื้อปลายปีไม่ได้รับรองว่าจะได้ต้นทุนที่ถูกเสมอไป) ถ้าหากขี้เกียจคำนวณเราก็มีเครื่องคำนวณง่ายๆมาเป็นช่วยให้ [อ่านเพิ่มใน : เครื่องคำนวณปีขาย LTF]
“ทำไมต้องเป็น 7 ปีปฏิทิน?”
ในระยะสั้นตลาดหุ้นมีความผันผวนมาก อาจทำให้ขาดทุนจากกองทุนได้ แต่ได้ระยะเวลาที่ยาวนานพอ หากเราซื้อจุดสูงที่สุด โดยวัฐจักรของหุ้นแล้วประมาณ 3-5 ปีจะกลับมากำไร หรือพูดง่ายๆคือถ้าหลับตาจิ้มซื้อ LTF ในอดีตที่ผ่านมาแทบจะไม่มีโอกาสขาดทุนตอนขายเลย(7ปีปฏิทิน) ยกเว้นกรณีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่มากๆ เช่น วิกฤตต้มยำกุ้ง
“หากขาย LTF ก่อนกำหนดจะโดนอะไร?”
หากขาย LTF ก่อนจะโดนภาษี 2 ส่วน
- เงินคืนภาษีที่ได้รับการยกเว้นไป + เงินจ่ายเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน(เบี้ยปรับหรือดอกเบี้ยนั่นเอง) ถ้าขายปีท้ายอาจจะโดนปรับอ่วมแน่ๆ
- เสียภาษี Capital Gain หรือ ภาษีของกำไรที่ได้นั่นเอง
“ถ้ากรณีซื้อเกินสิทธิจะโดนอะไร?”
กรณีซื้อเกินสิทธิมากกว่า 15% ของรายได้ หรือ เกิน 500,000 บาท ส่วนที่เกินจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และ เวลาของกองทุนจะเสียภาษี Capital Gain อีกด้วย ดังนั้นถ้าอยากลงทุนมากกว่าสิทธิที่มีแนะนำให้แบ่งไป RMF หรือ ซื้อกองทุนปกติจะดีกว่า เพราะจะได้ไม่โดนภาษีจากการผิดเงื่อนไข
ส่วนคนที่ซื้อเกินในจำนวนไม่มาก แนะนำให้ขายตามกำหนดปกติเพื่อป้องกันความยุ่งยากและเบี้ยปรับที่ตามมา
No Comment